แนวคิด

                       ผลงานวิทยานิพนธ์ชุดนี้เกิดจากความทรงจำ ความประทับใจต่อธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่เคยอยู่อาศัยตั้งแต่วัยเด็ก ที่ได้สัมผัสถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรป่าไม้ พืชพรรณต่างๆ รวมไปถึงสัตว์ป่านานาชนิด เช่น กระจง กระรอก ตัวนิ่ม ตะกวด และนกสายพันธุ์ต่างๆ เป็นต้น ข้าพเจ้าจึงนำสิ่งที่เคยพบเห็นเหล่านี้มาสร้างสรรค์และถ่ายทอดมาเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ ด้วยเทคนิควิธีการที่พัฒนามาจากศิลปะไทยโบราณ ทั้งภาพเขียนสีจิตรกรรมไทย ลายรดน้ำ ลายกำมะลอ ซึ่งเริ่มมาจากการทำพื้นแบบภาพเขียนสีจิตรกรรมไทยมีการลงสีบรรยากาศ ลงสีเพื่อแบ่งแยกรูปทรงต่าง ๆ จากนั้นเคลือบด้วยวานิช ต่อมาใช้สีโปสเตอร์แทนหรดานผสมกาวกระถินตัดเส้นแบบลายรถน้ำ เพิ่มรายละเอียดรูปทรงที่เขียนสีไว้ เขียนจนเสร็จทั้งภาพแล้วใช้สีเฟล็กเหลืองทาบนภาพบางๆ แทนยางรัก โรยผงทอง และใช้พู่กันแห้งปัดผงทองให้ราบเรียบติดกับงาน จากนั้นนำไปล้างน้ำส่วนที่ตัดเส้นหรือถมพื้นก็จะถูกล้างออกทำให้เห็นพื้นหลัง ส่วนที่ไม่ได้ตัดเส้นหรือถมพื้นก็จะเป็นสีทอง ขั้นตอนถัดไปเป็นการเขียนสีในส่วนของดอกไม้ นก ผีเสื้อ
                       ในการสร้างสรรค์ผลงานเป็นการนำเอารูปแบบจากธรรมชาติจากพรรณไม้ชนิดต่างๆ มาถอดเป็นลายเส้นแบบงานจิตรกรรมไทย มีการสร้างระยะของภาพด้วยเส้น สี และพื้นที่ว่าง มีการใช้สีมาสร้างให้งานดูมีมิติมากขึ้นเมื่อเทียบกับงานก่อนวิทยานิพนธ์ มีการใช้ผงทองทำให้ภาพดูเด่นมากขึ้นและสีทองยังแทนความรู้สึกของความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย
                       การวิเคราะห์ภาพวิทยานิพนธ์ทั้ง 5 ภาพเพื่อให้เห็นถึงสิ่งที่ข้าพเจ้านำมาถ่ายทอด ทั้ง รูปแบบ เนื้อหา เทคนิควิธีการ ที่แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพรรณไม้ การอยู่ร่วมกันของสังคมพืชโดยมีการนำเสนอที่มีการถอดรูปแบบจากธรรมชาติ ผ่านกระบวนการ

ภาพผลงาน

ชื่อภาพ : ความอุดมสมบูรณ์ของพรรณไม้ภาคใต้ 1

เทคนิค : จิตรกรรมลายทองบนกระดาน
ขนาด : 100 x 140 ซม.

ชื่อภาพ : ความอุดมสมบูรณ์ของพรรณไม้ภาคใต้ 2

เทคนิค : จิตรกรรมลายทองบนกระดาน
ขนาด : 100 x 140 ซม.

ชื่อภาพ : ความอุดมสมบูรณ์ของพรรณไม้ภาคใต้ 3

เทคนิค : จิตรกรรมลายทองบนกระดาน
ขนาด : 100 x 120 ซม.

ชื่อภาพ : ความอุดมสมบูรณ์ของพรรณไม้ภาคใต้ 4

เทคนิค : จิตรกรรมลายทองบนกระดาน
ขนาด : 100 x 130 ซม.

ชื่อภาพ : ความอุดมสมบูรณ์ของพรรณไม้ภาคใต้ 5

เทคนิค : จิตรกรรมลายทองบนกระดาน
ขนาด : 100 x 130 ซม.